วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นกกรงหัวจุก


ลักษณะนกกรงหัวจุกที่เป็นมงคล

นกกรงหัวจุกในวงการผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกนั้น มักจะพูดกันว่า ถ้านกมีลักษณะที่ดี ก็จะร้องเสียงดี ซึ่งทำให้ทุกคน ยึดคำพูดนี้กัน เวลาเลือกนกกรงหัวจุก ที่จะมาเลี้ยงเพื่อการแข่งขัน โดยลักษณะนกกรงหัวจุก ที่เป็นมงคล มีอยู่ 12 ประการ ดังนี้
1. ส่วนของใบหน้า ใหญ่ รูปโครงสร้าง ใบหน้า ดูเหมือนสิงโต
2. หงอน จุกบนหัว ใหญ่ โคนจุกขนดก หนา ยาว ตั้งตรง ปลายแหลม ขนเรียบ ลู่ในแนวเดียวกัน ดำสนิท ปลาย โน้มเอียงไปข้างหน้าเล็กน้อย (ถ้าเป็นไก่ เรียกว่า หงอน นก เรียกว่า จุก)
3. นัยน์ตา ดุ หรือ หวาน คม ใส ไวต่อสิ่งสัมผัส ทั้งภายนอก ภายใน
4. สันปาก ใหญ่ หนา คมปาก ประกบกันสนิท  คล้ายสันปากนกเหยี่ยว หรือ นกอินทรี (จะงอยปาก ไม่งุ้มลงมาก เหมือนนกเหยี่ยว)
5. สีแต้มแดงที่หู หรือ หูแดงเข้ม ถึงเข้มมาก
6. สีแก้มขาวชัด ขนขึ้นดกหนาใหญ่ ขาวสะอาด หนวดดำ เส้นเล็ก ตัดหว่างสีแก้ม กับเคราใต้คาง
7. คอใหญ่ ขนเครา ขึ้นดกหนาฟูใหญ่ สร้อยคอดำสนิท หรือ ภาษานก เรียกว่า หมึกดำ หมึกดำสนิท ขนขึ้นดกหนา ใหญ่ ย้อยลงถึงข้างล่าง ถึงจรดก้น
8. โครงสร้างสัดส่วน ยาวใหญ่ สันทัด หน้าอกนูนใหญ่ ลักษณะจับดู หรือ มองดูด้วยตาเปล่า สง่า องอาจ
9. สีบัวใต้หางชัด สีแดงออกส้มๆ หรือ สีแสด บานถึงบานใหญ่
10. หางพัดยาว ปลายหางไม่แตก หางขาวดำ หรือ หางดำป้ายขาว 8 หาง หางดำปรอด 4 หาง รวมเป็น 12 หาง หางยาว หางไม่แตก เวลายืนด้วยอาการปกติ ปลายหางซ้อนกันในแนวเดียว
11. ลีลาท่ายืน เดิน สง่า สองขาจับมั่น ดูองอาจ สง่างาม เป็นนกใจเดียว เวลาสู้ สู้ไม่ถอย
12. เสียง นกดำน้ำเสียงดี เสียงดังฟังชัด จะเป็นนกเสียงเล็ก เสียงกลาง เสียงใหญ่ ได้ทั้งนั้น (เสียงไม่แหบพร่า) เหมาะเป็นนก พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์
ที่มา : คู่มือนักเพาะ – นักเลี้ยง – นักเล่น นกกรงหัวจุก

กรงที่ใช้เลี้ยงนกกรงหัวจุก

นกกรงหัวจุกกรงที่ใช้เลี้ยงนกกรงหัวจุก
กรงของนกกรงหัวจุก มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ได้แก่ กรงรวม เป็นกรงขนาดใหญ่ สำหรับพักนกที่จับมาขาย  หรือ เป็นกรงสำหรับ ให้นกบินออกกำลังกาย , กรงเลี้ยงแบบธรรมดา , กรงให้นกผลัดขน , และ กรงที่นำไปแข่ง
ส่วนภายในกรง ก็ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ ใส่ไว้ด้วย ได้แก่ ถ้วยใส่น้ำ ถ้วยใส่อาหาร ที่รองถ้วยน้ำ ที่รองถ้วยอาหาร ห่วงกลม สำหรับให้นกกระโดดเกาะ ตะขอ แขวนผักผลไม้ ใช้ติดในกรงนก 2 อันต่อ 1 กรง คอนเกาะ ถาดรองขี้นก หัวกรง ตะขอแขวนกรง ตุ้มขากรง ขันสำหรับให้นกอาบน้ำในกรง และนอกจากนี้ จำเป็นจะต้องมีผ้าคลุมกรงนก เพื่อไม่ให้นกตกใจ ต่อสิ่งรอบข้างที่แปลกใหม่ ป้องกันไม่ให้ลมโกรกถูกตัวนก หรือ ป้องกันไม่ให้ศัตรูมาทำร้าย
กรงนกกรงหัวจุก มีหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น กรงแบบปัตตานี กรงแบบนราธิวาส กรงแบบนครศรีธรรมราช กรงแบบสิงค์โปร์ กรงทรงกลมแบบถังเบียร์ กรงแบบสุ่มไก่ กรงแบบทรงหกเหลี่ยม กรงแบบสี่เหลี่ยม กรงแบบทรงสี่เหลี่ยมธรรมดา กรงแบบทรงสี่เหลี่ยมดัดแปลง กรงแบบโดมมัสยิด ซึ่งปัจจุบัน ผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก ได้หันมาเล่นกรงด้วย เพราะอยากจะให้นกของตัวเอง อยู่ในกรงที่ดี รูปทรงสวย อีกทั้งเป็นหน้าเป็นตา ของเจ้าของนก และ เสมือนเป็นเฟอร์นิเจอร์ ประดับบ้านอีกด้วย โดยราคากรงของนกกรงหัวจุก นั้นมีราคาตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงนกกรงหัวจุก

นกกรงหัวจุกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงนกกรงหัวจุก
การเลี้ยงนกกรงหัวจุก จำเป็นต้องมีวัสดุอุปกรณ์ ในการเลี้ยง เหมือนกับนกอื่นๆ ทั่วไปด้วย เพื่อให้นกกรงหัวจุก ได้รับอาหาร น้ำ และ ความสะดวก สบาย เมื่ออยู่ในกรง โดยวัสดุ อุปกรณ์ จะประกอบด้วย
1. กรง จะมีหลายขนาด ขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยจะแบ่งเป็นกรงรวม จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า กรงอื่น เพราะจะเป็นกรง ที่ใช้สำหรับพักนก หรือ สำหรับ ให้นกบินออกกำลังกาย กรงเลี้ยงธรรมดา จะมีหลายรูปแบบ และกำลังเป็นที่นิยม ในการสะสม ของนักเลี้ยงด้วย ซึ่งบางกรง อาจจะมีราคาถูก หรือ แพง ขึ้นอยู่กับแบบกรง สำหรับให้นกผลัดขน และ กรงสำหรับนำนกไปสนามแข่งขัน
2. ถ้วยน้ำ ส่วนมากจะมีลักษณะเป็นทรงกลม คล้ายตุ่มน้ำเล็กๆ ซึ่งก็จะมี หลากหลายรูปแบบ และ ลวดลาย
3. ถ้วยอาหาร จะมีลักษณะเหมือนกับถ้วยน้ำ ซึ่งส่วนมาก นักเลี้ยง มักจะซื้อมาเป็นลวดลายเดียวกัน และ ให้เข้ากับกรง เพื่อความสวยงาม
4. ที่รองถ้วยน้ำ ถ้วยอาหาร จะเอาไว้สำหรับใส่ถ้วยน้ำ ถ้วยอาหาร แขวนไว้ในกรง ซึ่งจะมีหลายแบบด้วยกัน
5. ห่วงกลม จะมีลักษณะเป็นวงกลม ใส่ไว้เพื่อให้นกได้เกาะ ซึ่งมักจะติดไว้เหนือถ้วยน้ำ และถ้วยอาหาร


นกกรงหัวจุกลักษณะนกกรงหัวจุกที่ดี มีแววแข่งได้
ลักษณะนกกรงหัวจุกที่ดี มีแวว ไม่มีกฏตายตัว เห็นมานักต่อนักแล้ว สวยแต่รูป จูบไม่หอม ก็มีให้เห็นเยอะแยะ หากจะดูนกกรงหัวจุก มีแววแล้ว ลักษณะเบื้องต้น จุก ต้องได้ส่วนกับรูปหน้า หน้าใหญ่ ท้ายทอยโหนกๆ เคราเยอะๆ หางสั้นๆ ตัวไม่จำเป็นต้องใหญ่ ขอให้ได้ส่วน หางรวบเป็นเส้นเดี่ยว ในเวลากระโดดและเกาะคอนหรือ ห่วง ตัว ตั้งแต่ปลายจุก ไปถึงหางโค้ง เป็นรูปวงพระจันทร์ มีน้ำเสียงห้าวๆ
นี่เป็นเคล็ดลับในการพิจารณาตัวนกกรงหัวจุก ที่มีแววเอาลงแข่ง ถือเป็นทัศนะส่วนตัว ก็แล้วกัน นกกรงหัวจุก ที่พร้อมจะแข่ง พี่เลี้ยงนกมา จะเข้าใจนกของตนเองได้ดี เพราะเลี้ยงมากับมือ จนเข้าไปอยู่ในใจของมันได้ เพราะนกกรงหัวจุกแต่ละตัว ลักษณะนิสัย แตกต่างกันออกไป แต่ในส่วนลึก ก็ลองพิจารณา ดังต่อไปนี้
1. ข้อนี้สำคัญ น้ำขนมันวาว สีเข้มปลายขน กลมมน ไม่แตกปลาย ทั้งขนหลังปีก และ ขนตัว เรียงเป็นระเบียบ ไม่แตกแถว
2. แววตาสดใส โดดเล่น หรือ มีกิจกรรมทำของมันทั้งวันในกรง ไม่นอนขนพอง
3. อาการคึกคักบางตัว เปิดผ้าคลุมตอนเช้าๆ ยังไม่ทันเอาอาหารเปลี่ยนใส่ให้ใหม่ มันก็ปล่อยออกมาเต็มๆ เสียง พอย้ายไปแขวนที่ประจำ ก็ริกหาเจ้าของเป็นพัลวัน

การฝึกสอนนกกรงหัวจุก

นกกรงหัวจุกการฝึกสอนนกกรงหัวจุก ให้ร้องเพลงอย่างถูกวิธี
การฝึกสอนนกกรงหัวจุก ให้ร้องเป็นเพลง  เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สำหรับผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก เพราะเป็นหัวใจที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ต้องการให้นกกรงหัวจุก ร้องได้เป็นเพลง ตามที่ผู้เลี้ยงต้องการ  เพื่อจะได้นำนกกรงหัวจุก ไปเข้าแข่งขันเสียง ให้ได้รับชัยชนะกลับมา และนกที่ได้รับรางวัล ก็จะเป็นนกที่มีคุณค่า และมีราคา เป็นที่ชื่นชอบ ของผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก ทั่วไป การที่นกกรงหัวจุก จะร้องได้ดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ
1. ตัวของนกกรงหัวจุกเอง 50% ว่าตัวนกมีความพร้อมหรือไม่ ในด้านร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง มีจิตใจเบิกบาน และ ร่าเริง อารมณ์แจ่มใส
2. การฝึกสอนนก อย่างมีเทคนิค และวิธีการต่างๆ 50%
สำหรับการฝึกสอนนกกรงหัวจุก จากการเลี้ยง และ จากการไปคลุกคลี กับผู้เลี้ยงนก แต่ละคน ก็มีเทคนิค และวิธีการต่างๆ กัน ดังนี้
1. ให้นำนกกรงหัวจุกไปแขวนไว้ที่หน้าบ้าน หรือ ร้านขายน้ำชา กาแฟ ในตอนเช้า โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อฝึกนก ไม่ให้ตื่นและกลัว นกกรงหัวจุก จะได้คุ้นเคย กับคนแปลกหน้า หรือ เสียงพูดคุยกัน เสียงรถต่างๆ ที่ผ่านไปมา บนถนน เพราะโดยปกติแล้ว นกทุกชนิด มีสัญชาตญาณ ในการระแวง ถ้าหากไม่ฝึกให้คุ้นเคย และเวลาส่งนกกรงหัวจุก เข้าประกวดในสนามแข่งขัน ก็จะพบคนแปลกหน้า และมีเสียงรถ เสียงคนพูดคุยกัน เสียงคนเชียร์นก เวลากรรมการตัดสิน จะทำให้นกมีความเคยชิน ไม่มีการตื่นเต้น ตกใจ

ลักษณะเฉพาะของนกกรงหัวจุก

nokkronghuajuck2นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกทางการว่า นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือ นกพิซหลิว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Jocosus เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่เพาะพันธุ์ได้ ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) มีอยู่มากมายหลายชนิด
นกวงศ์นี้ มีถิ่นอาศัญอยู่ในแถบเอเชีย ในกลุ่มประเทศเมืองร้อน ที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น ประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ลาว พม่า กัมพูชา และ ไทย ซึ่งจะพบเป็นนกเหล่านี้ ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะ นกปรอดหัวโขนเคราแดง
1. นกปรอดหัวโขนเคราแดง
บ้างก็เรียกว่า ปรอดหัวโขนแก้มแดง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Red whiskered Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Pycnonotus Jocosus ได้ชื่อตามลักษณะของตัวนกเอง เป็นต้นว่า หัวโขน หมายถึง บนหัวมีขนยาวเป็นจุก เหมือนการสวมหัวโขนเอาไว้ ส่วนที่ว่าเคราแดง ไม่น่าจะถูกต้อง จริงๆ แล้ว ส่วนที่เป็นสีแดง จะอยู่ใต้ดวงตา นิยมเรียกว่า หูแดง หรือ แก้มแดง นกชนิดนี้ มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่น อยู่มากมาย เช่น ภาคใต้ เรียกว่า นกกรงหัวจุก ภาคเหนือ เรียกว่า นกปริ๊ดจะหลิว หรือ พิชหลิว ส่วนภาคกลาง เรียกว่านกปรอดหัวจุก หรือ นกหรอดหัวโขน เป็นนกที่น่าดู ใครๆ ก็ชอบ อาศัยอยู่ตามป่าไร่

ประวัตินกกรงหัวจุก

ณ ปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับว่า นกกรงหัวจุก มีกลุ่มผู้นิยม เพิ่มมากขึ้น เป็นจำนวนมาก ทำให้ ณ เวลานี้ ตลาดนกกรงหัวจุก มีมูลค่าเม็ดเงิน หลายสิบล้านบาท ยิ่งใครมีนกสวยและเก่ง แข่งชนะเลิศ เท่ากับมีเพชรเม็ดงาม เจิดจรัสแสงอยู่ในมือ ย่อมเป็นที่หมายปอง ของนักเลงนกและเซียนนก ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ นกกรงหัวจุก กลายเป็นแหล่งทำรายได้ และ หลายต่อหลายคน ต่างก็สนใจ ที่จะเข้ามาเล่น มาเลี้ยง และ หลงเสน่ห์ เสียงทอง อันไพเราะ และ สีสัน ที่สวยงาม ของ นกกรงหัวจุก นั้นเอง
nokkronghuajuck
ตามประวัติแล้ว นกกรงหัวจุก มีถิ่นอาศัย อยู่ในประเทศเขตร้อนชื้นสูง มักพบได้ตามประเทศในโซนเอเซีย คือ ประเทศอินเดียตอนใต้ ประเทศมาเลเซีย ประเทศจีน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศลาวตอนใต้ เขตติดกับไทย แถบจังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย ประเทศกัมพูชา และประเทศไทย สำหรับประเทศไทย มักพบนกชนิดนี้ ได้ทุกภาค ตั้งแต่ภาคเหนือ จนถึง ภาคใต้
นกกรงหัวจุก นี้จะเป็นนกที่มีชื่อเสียงดี ในการแข่งขัน การประกวด ประชันเสียง กว่านกอื่นๆ เนื่องจากเป็นนกที่มีเสียงอันไพเราะ และมีเพลงเสียงร้อง ที่หลากหลาย เสียงเพลง กว่านกอื่นๆ แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับการเลี้ยง ว่าผู้เลี้ยงจะดูแล เอาใจใส่ นกกรงหัวจุก ได้ดีมากน้อย เพียงใด หรือ ที่เรียกว่า มือน้ำเลี้ยงนั้นเอง
นกกรงหัวจุก ที่นำมาแข่งขันประชันเสียง กันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่ม ได้เขียนเอาไว้ว่า ชนชาติแรก ที่นำนกกรงหัวจุก มาเลี้ยง คือ ชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.2410 คนจีน ได้นำ นกกรงหัวจุก มาเลี้ยงแทน นกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่ นิยมนำมาใส่กรง พาเดินไปตามถนน หรือ นั่งร้านกาแฟ  หรือ ไปหาเพื่อนๆ ที่รู้ใจ และเลี้ยงนกเหมือนกัน และ เจ้านกโรบิ้น มักจะเป็นนกที่ตกใจง่าย และ ตื่นคน บางครั้ง ตกใจมาก จนถึงขั้นช๊อคตายคากรง ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ ชาวจีน หันมาเลี้ยงนกปรอทหัวจุก หรือ นกกรงหัวจุก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น